เคล็ดลับเรื่องรถ

Swing Arm กับPro Arm เลือกแบบไหนดี

Swing Arm กับPro Arm เลือกแบบไหนดี สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นประจำตัวของรถบิ๊กไบค์ ที่บ่งบอกถึงการดีไซน์ออกแบบในสไตล์ของรถรุ่นนั้น ๆ หลายๆคนคงจะคิดไปถึงชุดแต่งที่มีราคาแพงต่าง ๆ แต่อะไหล่ชิ้นส่วนที่เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักในวันนี้ เป็นที่ชิ้นส่วนที่สำคัญมาก ๆ ถูกติดตั้งอยู่ในโซนของช่วงล่าง ทำหน้าที่เป็นจุดยึดระหว่างล้อหลังกับตัวรถเข้าด้วยกัน นั่นก็คือสวิงอาร์ม นันเองวันนี้ทางเว็บไซต์ MOTOGPWORLD จะพามาทำความรู้จัก สวิงอาร์มทั่วไป และสวิงอาร์มอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกกันว่า โปรอาร์ม หรือ Single Side Swing Arm ว่าทั้ง 2 อย่างนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง

โปรอาร์ม (Pro Arm)

ความเป็นมาของช่วงล่างระบบ Pro Arm นั้นเป็นช่วงล่างของรถแข่ง ที่มีมาตั้งแต่การแข่งขันรถ Honda NSR 250 ในรายการเวิลด์กรังด์ปรีซ์ กำเนิดโดยทีม Elf France และ Honda จุดเด่นๆของมัน คือการเปลี่ยนล้อที่รวดเร็ว ใช้เพียงน๊อตเซ็นเตอร์ล๊อกตรงกลางตัวเดียว ทำให้ใช้เวลาในการเข้า Pit น้อยมาก และไม่ต้องกลัวระยะโซ่เพี้ยน ด้วยความแปลกในสมัยนั้น และด้วยการที่มันใส่อยู่ในรถแข่ง ก็เลยเป็นจุดเด่นแทนความเป็นสปอร์ตของรถไปโดยปริยาย

ข้อดีของโปรอาร์ม

คือช่วยในเวลาที่รถเข้าโค้ง เนื่องจากสวิงอาร์มนั้น เวลาเข้าโค้งจะสามารถทนแรงบิดงอในแนวนอนได้ดี แต่จะไม่สามารถทนแรงในด้านแนวดิ่งได้เหมือนกับโปรอาร์ม เพราะตัวโปรอาร์มนั้นได้รับการออกแบบให้ทนแรงบิดในแนวตรงมากกว่าแรงบิดที่เกิดขึ้นในแนวนอน โดยเวลาเราเข้าโค้ง

ข้อเสียของโปรอาร์ม

มาถึงข้อเสียกันบ้าง ข้อเสียของโปรอาร์มคือก็คือน้ำหนักของมันที่มากกว่าสวิงอาร์มทั่วไป นั่นหมายความว่าน้ำหนักใต้สปริงมากขึ้นมีระบบซับซ้อนมากกว่า  ต้องเซ็ตช่วงล่างที่ยากกว่า  ชิ้นส่วนยิบย่อยเฉพาะเยอะกว่า มีระบบซับซ้อนมากกว่า โดยอาจจะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทาง และที่แน่ๆคือต้องใช้ช่างที่ชำนาญเพื่อปรับตั้งในจุดนี้อย่างแน่นอน

Swing Arm กับPro Arm เลือกแบบไหนดี

สวิงอาร์ม (Swing Arm)

มาในส่วนของสวิงอาร์มกันบ้างนะครับ  ต้องยอมรับว่าสวิงอาร์มแบบแขนคู่ได้รับความนิยมมากที่สุด ตั้งแต่รถไซต์เล็ก จนถึงซูเปอร์ไบค์สมรรถนะสูง ด้วยความพิเศษของมันก็คือ การรับแรงทั้งหมดจะถูกกระจายแรงไปยังแขนสวิงอาร์มทั้ง 2 ข้าง แต่ยังต้องเจอแรงดันไปข้างหน้าที่เกิดขึ้นจากการหมุนของล้อ และแรงกระชากขณะเบรกหรือการเชนเกียร์ แม้กระทั่งตอนเทโค้ง มันก็ต้องทนแรงบิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากมุมแรงจากพื้นถนนเพี้ยนไปจากแนวการขยับขึ้น-ลงของตัวมัน

 ข้อดีของสวิงอาร์ม

 วัสดุที่ใช้ผลิตสวิงอาร์มแขนคู่นั้นไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดพิเศษที่มีราคาแพง ทำให้ประหยัด แถมในเรื่องของการปรับแต่งที่ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการปรับตั้งระยะโซ่ที่เพียงคลายน็อตยึดเพลาและปรับตั้งระยะที่บริเวณหางปลาตั้งโซ่ก็เสร็จแบบง่ายดาย หรือจะเป็นการปรับแต่งระบบเบรกหลัง เช่น การเปลี่ยนผ้าเบรก ที่เพียงคลายน็อตยึดที่คาลิเปอร์ออกก็สามารถถอดปั๊มเบรกหลังออกมาได้แล้ว

ข้อเสียของสวิงอาร์ม

ข้อเสียคือความยุ่งยากในด้านการถอดเข้า-ถอดออกล้อหลัง เพราะต้องคลายน็อตยึดเพลา แล้วดึงเพลากลางออก แถมยังต้องระวังเวลาที่จะนำล้อเข้า-ออก ไม่ให้ไปชนกับอย่างอื่นในบริเวณสวิงอาร์มอีก

และที่กล่าวมานี่คือ ข้อดี-ข้อเสีย Swing Arm กับPro Arm เลือกแบบไหนดี เอาจริงๆถ้าให้พูดถึงโปรอาร์มย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี 1990 หรือประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว โปรอาร์มเรียกได้ว่าเป็นอะไรที่ฮิตสุดๆของรถบิ๊กไบค์ในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ เพราะรถที่ผลิตมาหลายๆรุ่น ค่ายทั้งฝั่งเอเชียและยุโรป ต่างก็เริ่มผลิตรถมอเตอร์ไซค์ที่มีโปรอาร์มขึ้นมาแบบเรทติ้งกระฉูด รวมไปถึงรถแข่งในรายการดังๆ อย่าง WSBK ในยุคนั้น เราจะเห็นทีมแข่งโรงงานจากค่าย Honda และDucati ที่มีการติดตั้งโปรอาร์มมาตั้งแต่ออกโรงงาน มาโลดแล่นอยู่ในสนามอย่างโดดเด่นเลยทีเดียว

 

 

#สวิงอาร์ม กับโปรอาร์ม เลือกแบบไหนดี #ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *